จับตาดูสปป.ลาวผ่านวิกฤตโควิดหลังรับ 3 ยี่ห้อวัคซีนจากโคแวกซ์
ลาวกระจายวัคซีนได้ดีแซงหน้าไทย หลังเข้าร่วมโคแวกซ์
โควิด-19 ถือว่าเป็นวิกฤตครั้งใหญ่ที่คนทั้งโลกต่างพบเจอ ทีนี้ก็ขึ้นอยู่กับรัฐบาลของแต่ละประเทศแล้ว ว่าจะจัดการสภาพความเป็นอยู่ New Normal ของประชาชนในประเทศได้อย่างไร สำคัญคือสภาพจิตใจ รายได้ และสภาพร่างกายของคนต้องเตรียมพร้อมอยู่เสมอ
และถือเป็นเรื่องน่ายินดี ของประเทศเพื่อนบ้านที่ก้าวไปไกลกว่าเราหลายเท่า อย่าง ‘สปป.ลาว’ ที่ถือเป็นหนึ่งในประเทศอาเซียนที่เข้าร่วมโครงการโคแวกซ์ ที่ในตอนนี้สปป.ลาวมีวัคซีนในมือกว่า 3 ล้านโดส โดยสปป.ลาวได้ตั้งเป้าหมายใหญ่ จะต้องฉีดวัคซีนให้คนในประเทศให้ได้ 50% จากประชากรลาวที่มีอยู่ทั้งหมด 7.6 ล้านคน ภายในสิ้นปี 64 นี้

ลาวกระจายวัคซีนได้ดีแซงหน้าไทย หลังเข้าร่วมโคแวกซ์
วัคซีนที่ได้รับในลาว ‘ฟรี’ เก็บ – จ่ายเงิน มีความผิด
อีกทั้งทุก ๆ ขั้นตอนในการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในประเทศลาว ประชาชนลาวไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสักบาท ผู้ที่คิดเงินและจ่ายเงินจะมีความผิดทางกฎหมาย หากพบเห็นเบาะแสสามารถแจ้งหน่วยงานรัฐได้ในทันที ซึ่งทางสปป.ลาวได้เข้าร่วมโครงการโคแวกซ์ มาตั้งแต่ในช่วงกลางปี 2563 และได้รับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า จำนวน 132,000 โดส จากโคแวกซ์ในช่วงเดือนมีนาคม 2564 จนถึงปัจจุบันได้รับการช่วยเหลือวัคซีนในโครงการมากกว่า 3 ล้านโดสแล้ว ซึ่งวัคซีนที่ได้รับความช่วยเหลือจากโคแวกซ์ ได้แก่
- แอสตร้าเซเนก้า จำนวน 132,000 โดส
- ไฟเซอร์ จำนวน 101,000 โดส
- จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน จำนวน 1,008,000 โดส (สหรัฐช่วยเหลือผ่านโคแวกซ์)

วัคซีนที่ได้รับในลาว ‘ฟรี’ เก็บ – จ่ายเงิน มีความผิด
นอกนี้สปป.ลาวยังได้รับความช่วยเหลือวัคซีนจากประเทศอื่น ๆ อีก คือ ซิโนฟาร์ม จำนวน 1,900,000 โดส (รัฐบาลจีนช่วยเหลือ) และสปุตนิก วี จำนวน 5,000 โดส (รัฐบาลรัสเซียช่วยเหลือ) และถือเป็นการตัดสินใจที่ดีของสปป.ลาว ที่ได้วางแนวทางการจัดสรรวัคซีนให้กับประชาชนในประเทศไว้ตั้งแต่ช่วงปลายปีที่แล้ว ว่าจะต้องหาวัคซีนในคนผ่าน 3 แนวทางใหญ่ ได้แก่ 1.ขอความช่วยเหลือจากประเทศเพื่อนมิตร 2.โครงการโคแวกซ์ และ 3.จัดซื้อวัคซีนเอง ซึ่งถือว่าสปป.ลาวสามารถทำออกมาได้สำเร็จเลยล่ะ
และเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2564 ที่ผ่านมา สปป.ลาวได้ทำการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ให้กับคนในประเทศ แต่ทั้งนี้การฉีดไฟเซอร์ที่มีจำนวนจำกัด ก็มีการออกกลุ่มเป้าหมายที่จะได้รับวัคซีน ดังนี้
- ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป
- ผู้ที่มีความเสี่ยงสูง อาทิ บุคลากรทางการแพทย์ เจ้าหน้าที่ด่านหน้าตรวจคนเข้าเมือง
- ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคมะเร็ง, โรคอ้วน, โรคเบาหวาน, โรคความดัน ฯลฯ
พร้อมย้ำว่าคนไทยในลาวฉีดไฟเซอร์ได้เช่นกัน แต่จะต้องอยู่ใน 3 กลุ่มเป้าหมายเท่านั้น แต่สำหรับคนไทยในลาวที่ยังไม่ได้อยู่ในกลุ่มเป้าหมาย ก็จะได้รับเป็นวัคซีนซิโนฟาร์มแทน โดยคนไทยที่ต้องการฉีดเพียงแค่นำหลักฐานหนังสือเดินทาง หรือใบอนุญาตเข้าพักในสปป.ลาว พร้อมด้วยผลตรวจสุขภาพมายืนยันก็สามารฉีดได้ทันที แต่ทางการสปป.ลาว ได้ระบุว่า การฉีดวันซีนคนไทยครั้งนี้ เฉพาะคนไทยที่อยู่ในลาวเท่านั้น (ปัจจุบัน สปป.ลาว ยังไม่เปิดให้ต่างชาติเข้าประเทศ)

คนไทยในลาวฉีดไฟเซอร์ได้
ทำไมไทยไม่เข้าร่วมโคแวกซ์ ทั้งๆที่เป็นเรื่องดี?
หลักการเข้าร่วมโคแวกซ์นั้น จะถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มประเทศที่มีฐานะยากจน/รายได้ต่ำ (ได้รับวัคซีนฟรี) และกลุ่มประเภทที่ 2 คือ มีรายได้ต่ำ-ปานกลาง (มีค่าใช้จ่าย) ส่วนไทยถือว่ามีรายได้ปานกลางค่อนข้างสูง จึงถูกจัดอยู่ในประเภทที่ 2
และแม้ว่าในตอนนี้ไทยเริ่มเปลี่ยนใจเข้าร่วม COVAX แล้ว แต่วันนี้เราจะพาไปย้อนรอยหาปมปัญหาว่าทำไมไทยไม่เข้าร่วมตั้งแต่แรก ซึ่งจากการสรุปเนื้อหาแบบเข้าใจง่าย (อ้างอิง กรุงเทพธุรกิจ) คือ
- เข้าร่วมโคแวกซ์ต้องมีค่าธรรมเนียมดำเนินการ
- จะต้องจ่ายเงินล่วงหน้า โดยที่ไม่ทราบแหล่งที่มาของผู้ผลิตและวันเวลาชัดเจนที่จะได้รับวัคซีน
- หมดอิสระในการเลือกยี่ห้อวัคซีน
- ซื้อราคาวัคซีนตามราคาจริง ต่อรองไม่ได้
- ค่าใช้จ่ายต่อครั้งอาจมากกว่าที่ระบุ

ทำไมไทยไม่เข้าร่วมโคแวกซ์ ทั้งๆที่เป็นเรื่องดี?
และเมื่อวันที่ 21 ก.ค. 64 ที่ผ่านมา รัฐบาลไทยตอบรับโคแวกซ์ ส่วนสาเหตุที่ทำให้ไทยเปลี่ยนใจเข้าร่วมนั้น อาจเป็นเพราะขณะนี้การจัดหาและการกระจายวัคซีนในปัจจุบันไม่ทันต่อสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น จึงต้องการที่จะเพิ่มช่องทางในการหาวัคซีนให้เพียงพอ ที่สำคัญการกลายพันธุ์ของโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ รวดเร็วและมีความรุนแรงมากเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว
เพราะฉะนั้นแล้วทั้งหมดนี้จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมในตอนแรกไทยไม่ตอบรับโคแวกซ์ แต่ในปี 2564 จึงมีท่าทีที่เปลี่ยนไปและหันหน้าเข้ารับความช่วยเหลือจากประเทศอื่น ๆ หวังว่าจุดยืนที่ไทยเลือกจะเป็นจุดยืนที่ทำให้คนในประเทศได้รับวัคซีนดี ๆ ไม่ต้องใช้ประกันสุขภาพเข้าช่วยเพราะแพ้วัคซีน และเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น